วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้


เรามาทำความรู้จัก''โนรา'' หรือที่เรียกกันว่า''มโนราห์'' กันดีกว่า

                                                 



      ''โนรา'' เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน และยังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นการละเล่นที่มีทั้งร้อง การรำและ บางครั้งอาจเป็นเนื้อเรื่อง อีกทั้งยังเป็นศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้ มโนราห์ --> เป็นคำที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาเเสดงเป็นละครชาตรี จึงมีชื่อเรียกว่า''มโนราห์'' ส่วนกำเนิดของมโนราห์นั้นสันนิษฐานว่าได้รับการร่ายรำมาจากอินเดีย     ปัจจุบันเชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุงคือ ตำบล บางแก้ว จังหวัดพัทลุง และแพร่หลายไปหลายๆหัวเมืองของพัทลุงจนมาถึงภาคกลาง เลยกลายเป็นละครชาตรี 

 สำหรับเครื่องแต่งกายชุดโนราห์ ประกอบด้วย 12 ชิ้น
                                                   


1.เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของโนรา หรือ ตัวยืนเครื่อง

                                                    

2.บ่า ใช้สวมทับบนบ่าซ้าย

                                                     

3.ปิ่งคอ ใช้สำหรับห้อยคอหน้า-หลัง

                                                     

4.พานอก ใชัพันรอบตัวอก บางที่เรียกว่า ''พานโครง'' 

                                                     

5.ปีกนกแอ่น ใช้สวมติดกับสังวาลที่อยู่เหนือสะเอวด้านซ้าย-ด้านขวา

                                                       

6.ทับทรวง ใช้สวมห้อยไว้ตรงอก นิยมทำลวดลายคล้ายขนมเปียกปูน

                                                       

7.หาง ใช้ทับผ้านุ่งตรงระดับเอว นิยมทำด้วยเขาความเพราะมีความทนทาน 

                                                        

8.ผ้านุ่ง เป็นการนุ่งผ้าของโนราจะรัดสูงและรัดรูปแน่นกว่าโจมกระเบน

                                                        

9.ผ้าห้อย ใช้ห้อยลงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของหน้าผ้า

                                                         

10.กำไล ใช้สวมมือ อาจสวมใส่ประมาณ 5-10 ชิ้น

                                                         

11.เล็บ นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว ''ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ''

                                                          

12.กำไลต้นแขน สวมที่ต้นแขนเพื่อขบรัดกล้ามเนื้อเพิ่มความสง่างาม

เครื่องดนตรีที่ประกอบใช้ในการแสดง


                                       
ทับ - ทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนทำนอง จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ
                                                 
กลอง - ทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะ และ ล้อเสียงทับ



                                   
ปี่ - เป็นเครื่องเป่าชนิดเดียวที่เล่นในวง
                                            
โหม่ง - จะมีเสียงทุ้มที่แตกต่างกันไป


                             
ฉิ่ง - ใช้ตีเสริมเน้นจังหวะ

พิธีกรรม
โนราโรงครูมี 2 ชนิด
-โรงครูใหญ่ เป็นการรำโนราแบบเต็มรูปแบบ จะต้องทำต่อเนื่อง 3 วัน 3 คืน จึงจะจบพิธี โดนจะเริ่มตั้งแต่วันพุธ สิ้นสุดวันศุกร์และจะต้องทำทุกปี หรือทุกสามปี หรือห้าปี ก้ได้
-โรงครูเล็ก เป็นการรำโนราแบบย่อ คือใช้เวลา 1 วันกับ 1 คืน โดยจะเริ่มตอนเย็นวันพุธ สิ้นสุดในพฤหัส


หลังจากที่ฟังประวัติความเป็นมาและอุปกรณ์ที่ใช้การเเสดงกันแล้วเรามาดูรูปและเรื่องราว วิธีการเเสดงกันดีกว่า


สมัย3ปีที่แล้ว การรำเป็นอะไรที่ต้องฝึกและใช้เวลาเรียนรู้

ไปรำที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ท่านี้มีชื่อเรียกว่า"พระจันทร์ทรงกฏ"


คณะสืบสายลายมโนราห์ไปรำที่อยุธยา งานพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร

แสดงงานวันเด็กปีที่ผ่านมา ที่ตึกไทยคู่ฟ้า














รำงานแต่งงาน ถือว่าเป็นศิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว


รำที่สมาคมชาวปักษ์ใต้



''มารำเป็นท่าให้ต่างกัน'' แต่ละท่าก้จะไม่เหมือนกันท่าแต่ละท่าจะมีความหมายอยู่ในตัว 


งานสารทเดือนสืบ จะมีงานทุกปีที่สมาคมชาวปักษ์ใต้


การรำเอามายกให้ดูกันคร่าวๆ ว่าจะมีความแข็งแรง และความอ่อนช้อยแค่ไหน คลิก!ดูกันเลย

                                     



                                         


เป็นตัวประกอบละครเรื่อง ยอดรักนักสู้


ไปรำที่โรงเเรม เป็นงานของคนจีน

ห้องฝึกซ้อม


ได้เข้าประกวด Top talent 2015 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1






การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เป็นสิ่งที่ดีงาม ซึ่งปัจจุบันนี้เราต่างเอาวัฒนธรรมอื่นมาใช้กัน จนคนรุ่นใหม่เนี้ยไม่ค่อยรู้จักวัฒนธรรม และประเพณีเก่าๆที่ทำสืบต่อกันมา ดังนั้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้คงอยู่ไม่ใช่เรื่องน่าเสียหายและน่าอายอะไรเลย แต่กลับเป็นผลดีกลับคนรุ่นใหม่ เพราะจะได้สืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น